เลือกตั้งไทยคาดการณ์ยาก SCB เชื่อ งบปี 67 ล่าช้ากระทบศก.รุนแรง

เลือกตั้ง 2566 : เช็กหน่วยเลือกตั้ง – ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ง่ายๆ ไม่กี่คลิก!

เลือกตั้งเงินสะพัด หนุนเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 แต่เสี่่ยงบปี 67 ล่าช้า

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า คาดการณ์ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในเดือน ก.ค. 2566 และจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ได้ภายในเดือน ส.ค. 2566 แต่หากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างล่าช้ากว่านี้ อาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจได้หลายด้าน

ขณะที่การเลือกตั้ง และการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะครอบคลุมการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐจนถึงสิ้นไตรมาส 3 ปี 66

และทำให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่มีการกำหนดไว้แล้วได้เป็นปกติ รวมถึงความพยายามเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงต้นปีงบประมาณ

ทั้งนี้แม้รัฐบาลรักษาการจะไม่สามารถออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ แต่ได้เตรียมการที่ดีไว้ก่อนยุบสภา ด้วยการเร่งอนุมัติหลายเรื่องสำคัญ เช่น กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และโครงการลงทุนต่าง ๆ

ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 จะได้รับแรงสนับสนุนจากเม็ดเงินที่นำมาใช้ในการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มอีกราว 12,032 ล้านบาท หรือ 0.07% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน (Nominal GDP)

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบด้านลบรุงแรงขึ้นในไตรมาส 4 ของปี 2566 จากความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล และการพิจารณาอนุมัติ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567 เนื่องจากโดยปกติแล้ว พ.ร.บ. งบประมาณจะมีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเดือน ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และเริ่มประกาศใช้ต้นปีงบประมาณเดือน ต.ค. แต่การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะทำให้กระบวนการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี ล่าช้ากว่าปกติ

โดย SCB EIC ประเมินว่า การพิจารณางบประมาณจะล่าช้า 3-4 เดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหน่วยงานภาครัฐจะสามารถใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อนได้ แต่ในกรณีเลวร้าย การจัดตั้งรัฐบาลไม่ราบรื่น อาจทำให้การประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีล่าช้าถึง 6 เดือน โดยหน่วยงานภาครัฐจะไม่สามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย และจะส่งผลลบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 66 ไปจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 67

ขณะที่ผลกระทบด้านบวกต่อเศรษฐกิจของการเลือกตั้งจะชัดเจนขึ้นในปี 2567 หากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ทุกพรรคได้มีการนำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากมาใช้ในการหาเสียง อีกทั้ง มีนโยบายจำนวนมากที่เป็นนโยบายเร่งด่วนที่พรรคการเมืองให้คำสัญญาว่าจะดำเนินการภายใน 3-4 เดือนหลังจากที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน เช่น นโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ นโยบายลดค่าครองชีพของประชาชน (เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า) และนโยบายให้เงินประชาชนโดยตรงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

สรุปคือ เศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และการจัดทำงบประมาณปี 2567 และการเลือกตั้งครั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า กรณีฝ่ายเสรีนิยมจัดตั้งรัฐบาล กรณีรัฐบาลผสมสองฝ่าย และกรณีรัฐบาลอนุรักษ์นิยมเสียงข้างน้อย ทั้ง 3 ฉากทัศน์นี้ (เหตุการณ์จำลอง) มีโอกาสเกิดขึ้นในระดับปานกลางใกล้เคียงกันมาก สำหรับอีก 2 ฉากทัศน์กรณีฝ่ายอนุรักษ์นิยมจัดตั้งรัฐบาล และกรณีนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่บ้าง